เรื่องควรรู้ก่อนติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน

เรื่องควรรู้ก่อนติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน

wardrobe Design

รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle หรือ EV) คือ รถยนต์ทางเลือกที่ใช้ไฟฟ้าเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนแทนน้ำมันหรือก๊าซ NGV 

ซึ่งตอนนี้มี 3 แบบด้วยกัน ได้แก่ รถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด (All Electric Vehicles หรือ AEVs)   รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด HEV (Hybrid Electric Vehicle)  รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดที่ใช้สามารถใช้พลังงานน้ำมันกับไฟฟ้าร่วมกันได้ และรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicles หรือ PHEV)   ลักษณะคล้ายกับรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด แต่สามารถเสียบปลั๊กชาร์จไฟจากภายนอกได้

 

ข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้านอกจากจะช่วยประหยัดทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายและการใช้พลังงานเมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันแล้ว เครื่องยนต์ยังทำงานเงียบ ไม่มีเสียงรบกวน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังสามารถชาร์จไฟได้จากที่บ้านด้วย 

 

เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า มีกี่ประเภท

เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า มี 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ 

  • Normal Charge หรือ AC Charge : เป็นการชาร์จจากเต้ารับในบ้านโดยตรง ใช้เวลาประมาณ 12-16 ชั่วโมง ก่อนติดตั้งควรเช็กปริมาณการใช้ไฟในบ้านร่วมกับเครื่องชาร์จไฟก่อนว่า ระบบไฟฟ้าเดิมที่มีอยู่รองรับการใช้งานได้หรือไม่ 
  • Doble Speed Charge : ชาร์จด้วย Wall Box การชาร์จไฟกระแสสลับผ่านตัวแปลงไฟ ใช้เวลาน้อยกว่า อยู่ที่ประมาณ 4-7 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความจุแบตเตอรีและรุ่นของรถด้วยเช่นกัน 
  • Quick Charge : การชาร์จด้วยกระแสไฟฟ้าตรง (DC Charging) สามารถชาร์จแบตเตอรีได้ในเวลาอันรวดเร็ว ใช้เวลาเพียง 40-60 นาที เท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นสถานีชาร์จไฟนอกบ้าน เช่น ห้างสรรพสินค้าและจุดแวะพักรถต่าง ๆ 

เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า มีกี่ประเภท

ภาพประกอบ : พุทธิพงศ์ โรจน์ศตพงค์

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยอำนวยความสะดวกการเตรียมตัวก่อนติดตั้ง EV Charger ภายในบ้าน โดยสามารถติดต่อการไฟฟ้าในพื้นที่ เนื่องจากจะต้องให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้าน โดยจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

 

  1. หากสามารถปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในบ้านได้ แนะนำเป็นการเพิ่มขนาดมิเตอร์
  2. หากไม่สะดวกปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในบ้าน สามารถขอติดตั้งมิเตอร์เครื่องที่ 2 เพื่อแยกระบบไฟฟ้าได้ โดยการให้บริการจะเป็นลักษณะเดียวกับการให้บริการติดตั้งมิเตอร์ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ โดย 1 บ้านเลขที่ มี 2 หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า (CA) โดยมิเตอร์เครื่องที่ 1 และมิเตอร์เครื่องที่ 2 ให้กำหนดเป็นประเภทผู้ใช้ไฟเดียวกัน (เช่น มิเตอร์เครื่องที่ 1 เป็นผู้ใช้ไฟประเภทกิจการขนาดเล็ก มิเตอร์เครื่องที่ 2 ต้องเป็นประเภทกิจการขนาดเล็ก) แต่สามารถเลือกใช้คนละอัตราค่าไฟได้ (อัตราปกติกับอัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของการใช้: TOU)

 

ส่วนข้อกำหนดการขอมิเตอร์เครื่องที่ 2 เพื่อติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) สำหรับบ้านอยู่อาศัย หรือกิจการขนาดเล็ก (ที่ไม่ใช่เพื่อการพาณิชย์) ผู้ขอมิเตอร์เครื่องที่ 2 ต้องติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในแยกจากระบบไฟฟ้าภายในของมิเตอร์เครื่องที่ 1 และติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าตามมาตรฐานของ PEA ไว้เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้วงจรที่จ่ายไฟฟ้าให้เครื่องชาร์จต้องแยกต่างหากจากการจ่ายไฟให้กับโหลดอื่นๆ ทั้งนี้ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1129 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า มีกี่ประเภท

1. ขนาดมิเตอร์ไฟ
ถ้ามิเตอร์ไฟฟ้ามีขนาดเล็กกว่า 30 แอมป์ (30/100) เช่น 5 แอมป์ หรือ 15 แอมป์
ควรแจ้งเปลี่ยนมิเตอร์ไฟให้มีขนาดตั้งแต่ 30 แอมป์ขึ้นไป

2. ขนาดสายไฟเมน
หลังจากเช็กมิเตอร์ไฟฟ้าแล้ว ก็ต่อด้วยการเช็กขนาดสายไฟเมน หรือขนาดสายไฟ
ที่เชื่อมมายังตู้ควบคุม หากยังเป็นขนาด 16 มิลลิเมตร ก็ต้องเปลี่ยนมาใช้ขนาด 25 ตารางมิลลิเมตร (ตร.มม.)

3. ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB)
โดยดูว่ามีช่องว่างสำหรับติดตั้ง Miniature Circuit Breaker หรือไม่ เพราะการติดตั้งที่ชาร์จรถ EV จะต้องแยกช่องจ่ายฟออกไปต่างหาก และช่องว่างนั้นควรมีขนาดตามพิกัดที่สามารถรองรับกระแสไฟของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ด้วย

4. เครื่องตัดไฟรั่ว หรือ RDC
เครื่องตัดไฟรั่ว (Residual Current Device หรือ RDC) ไว้สำหรับตัดวงจรเมื่อมีค่ากระแสไฟฟ้าไหลเข้า- ออกไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร รวมไปถึงไฟไหม้ได้

5. เต้ารับ
เต้ารับที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV จะไม่เหมือนเต้ารับเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปในบ้าน การเสียบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าควรใช้แบบ 3 รู และใช้หลักดินแยกออกจากหลักดินของระบบไฟในบ้าน

6. เช็กตำแหน่งก่อนติดตั้ง
ก่อนจะติดตั้งเต้ารับแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าควรเช็กตำแหน่งที่จะติดตั้งด้วยว่าระยะห่างเหมาะสมกับความยาวของชาร์จหรือไม่ เพราะระยะความยาวของสายชาร์จส่วนใหญ่ไม่เกิน 5 เมตร


ที่มา : BestConveyorCenter

การเลือกจุดติดตั้งเครื่องชาร์จ บริเวณพื้นที่จอดรถ

  • ระยะทางไม่เกิน 5 เมตร : จากตัวเครื่องชาร์จจนถึงจุดที่เสียบชาร์จกับตัวรถ ไม่ควรวางห่างกันเกิน 5 เมตร เนื่องจากสายเครื่องชาร์จ EV Charger โดยทั่วไปอยู่ที่ 5-7 เมตรเท่านั้น
  • วางใกล้ตู้ MDB : เลือกทำเลใกล้ตู้เมนไฟฟ้าในบ้าน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟที่มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
  • หลังคาปกคลุม : เลือกจุดที่อยู่ด้านในใต้หลังคา เพื่อป้องกันละอองฝน และเป็นการรักษาให้ใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น


ที่มา : https://thinkofliving.com

Wardrobe design ideas wardrobe designs “Wardrobe”, the main piece of furniture that many people may overlook. Because dressing is endless, “clothes” is definitely an item that tends to increase rather than decrease. Therefore, finding a good wardrobe to fit on the floor and actually works Therefore, it is necessary that it is worth investing in changing the dressing corner in the house. Meet your usage and lifestyle as much as possible.

รวมรูปภาพ – ไอเดียออกแบบตู้เสื้อผ้า wardrobe designs –


Tags

ตกแต่งภายใน , เฟอร์นิเจอร์ Built-inรีโนเวทบ้านหาดใหญ่ , ไอเดียออกแบบ

RECOMMENDED

© 2022 All Rights Reserved.


Facebook-f


Instagram


Youtube